วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

มือ เท้า ปาก



สาเหตุของโรค

       เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส กลุ่มที่อยู่ในลำไส้คน มักพบเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งทารก และเด็กเล็กมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ง่าย และจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต ส่วนผู้ใหญ่ก็พบเป็นโรคนี้ได้ โรคนี้มักพบในสถานเลี้อยงเด็ก และโรงเรีียนอนุบาล ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้บ่อยแต่มักไม่มีความรุนแรงและหายได้เองภายใน 7-10 วัน บางรายอาจมีอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน

การติดต่อของโรค

        เชื้อโรค อยู่ในน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ น้ำในตุ่มพองหรือแผนของผู้ป่วย เชื้อโรคเข้าทางปากโดยตรงซึ่งอาจติดมากับมือ ของเล่น ไอ จาม หรือใช้ภาชนะในการรับประทานหรือดื่มร่วมกัน โรคนี้จะติดต่อกันได้ง่าย ในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย และจะพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยได้นานประมาณ 12 สัปดาห์ หลังจากเริ่มป่วย

อาการของโรค

่1. มีไข้ 2-4 วัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บภายในปากและคอ ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัด
2. มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือที่ก้น ต่อมาผื่นนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบ ๆ แดง และแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ ถ้าเด็กมีอาการเหล่านี้หรือซึม ไม่รับประทานอาหารและน้ำ น้ำลายไหล อาเจียนบ่อย ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ๆ หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และปอดบวม ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรค

        1. ควรดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป และสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่ายทุกครั้ง
        2. รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม
        3. ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน ขวดนมร่วมกับผู้อื่น
        4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลี อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย
        5. หลีกเลี่ยงการนำทารกและเด็กเล็กเข้าไปในสถานที่แออัด หรือที่ ๆ เด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก หรือเล่นของเล่นร่วมกันในที่สาธารณะในช่วงที่มีโรคระบาดมาก
        6. ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว เมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ
        7. ทำความสะอาดพื้น เครื่องใช้หรือของเล่น เด็กที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาฟอกขาว(คลอร็อกซ์) อัตราส่วน น้ำยา 20 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ซีซี และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
       8. ถ้าพบผู้ป่วยเป็นโรค มือ เท้า ปาก ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็ว เพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป

ที่มา : http://www.pbi2.obec.go.th 

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

เตรียมพร้อมก่อนการคลอด



เตรียมพร้อม...ก่อนคลอด

        การเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และของใช้ต่างๆ จะช่วยให้คุณแม่ไปคลอดได้อย่างผ่อนคลายขึ้น ว่าแต่ว่าต้องเตรียมเรื่องอะไรนั้น ไปดูกันค่ะ

1. โรงพยาบาล

- ปรึกษากับคุณหมอตลอดเวลาหากมีปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

- ในกรณีที่คุณแม่ฝากท้องที่เป็นโรงพยาบาลเอกชน (บางแห่ง) ช่วงนี้
   อาจจะขอเข้าไปดูสถานที่ เช่น ห้องคลอดหรือห้องเด็ก และลองสอบ
   ถามว่าสามารถให้คุณพ่อเข้าไปเป็นกำลังใจคุณแม่ในวันคลอดได้
   หรือไม่ เพื่อจะได้เตรียมตัว

- นอกจากนี้ก็ต้องคำนวณเรื่องค่าใช้จ่ายให้พร้อมด้วยนะคะ

- อาจต้องลองขับรถเพื่อคำนวณระยะเวลาในการเดินทางจากบ้านไป
  โรงพยาบาล หรือหาเส้นทางที่เดินทางไปสะดวกที่สุด เร็วที่สุดค่ะ
  ถ้าเป็นไปได้เตรียมเส้นทางสำรองไว้ด้วยก็ดีนะคะ


2. เตรียมกาย

- เตรียมเรื่องอาหารการกิน ควรกินอาหารที่มีโปรตีนเยอะๆ แต่ลดอาหาร
  รสจัด เช่น เค็ม เผ็ด เปรี้ยว โดยเฉพาะเผ็ด เพราะจะทำให้คุณแม่บวม
  กินผักผลไม้ควบคู่ด้วย เพื่อลดอาการท้องผูก

- ควรกินยาบำรุงตามที่คุณหมอให้มาให้ครบ เช่น ยาบำรุงเลือด วิตามิน
  รวม และแคลเซียม เพราะช่วงคลอดคุณแม่ต้องสูญเสียเลือดเยอะ
  การกินยาบำรุงจะทำให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

- หาซื้อของใช้ที่จำเป็นทั้งของคุณแม่และคุณลูกไว้ให้พร้อม เพราะ
  หลังคลอดจะไม่มีเวลาออกไปหาซื้อแล้วค่ะ

3. เตรียมคลอด

- จะคลอดเองหรือผ่าท้องคลอด ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าต้องผ่าท้องคลอด ก็ควรจะคลอดเอง

- วางแผนหลังคลอด ว่าจะทำหมันหรือเปล่า ถ้าต้องการทำหมันจะได้แจ้งให้คุณหมอทราบล่วงหน้า เพื่อความสะดวกใน การเตรียมตัวของคุณหมอด้วย


4. เตรียมจิตใจ

- คุณแม่ควรฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ ฝึกหายใจ ฝึกคลายอาการเจ็บท้อง ซึ่งส่วนใหญ่โรงพยาบาลที่ฝากครรภ์จะมี คอร์สแนะนำและฝึกคุณแม่เพื่อให้ทราบวิธีสังเกตตัวเองในช่วงก่อนคลอด รวมทั้งวิธีหายใจที่ถูกต้องในการคลอด เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณแม่คลายความกังวลลงได้ค่ะ

- คุณแม่ต้องเตรียมรับกับภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นได้หลังคลอดด้วย เช่น ร้องไห้ทั้งวัน กลัวสามีไม่รักและถูกทอดทิ้งกลัวไม่สวย เป็นต้น และสอบถามวิธีแก้ไขกับคุณหมอเพื่อนำมาปฏิบัติด้วยค่ะ

อาการเตือนก่อนคลอด

1. ปวดท้องอย่างรุนแรงตลอดเวลาทุก 3 นาที และเจ็บครั้งละประมาณ 40 วินาที

2. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด แม้ไม่เจ็บท้องก็ต้องไปโรงพยาบาล

3. มีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอด ไม่ว่าจะมีอาการเจ็บท้องหรือไม่ก็ตาม ต้องรีบไปโรงพยาบาล เพราะถุงน้ำคร่ำอาจจะแตกหรือรั่วก็ได้ ถ้าทิ้งไว้นานอาจทำให้ติดเชื้อได้

เตรียมกระเป๋าเข้าห้องคลอด

สำหรับแม่
1. บัตรฝากครรภ์ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนเพื่อแจ้งการเกิด
2. ผ้าอนามัย เสื้อชั้นในสำหรับเปิดให้นมลูก
3. ชุดคุณแม่ใส่ตอนออกจากโรงพยาบาล
4. อาหารและเครื่องดื่ม (เพราะหลังคลอดคุณแม่จะหิวมาก)
5. กระเป๋าเครื่องใช้ประจำตัว สำหรับใส่เครื่องสำอาง
6. ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนูเช็ดตัว
7. กล้องถ่ายรูปในกรณีที่ทางโรงพยาบาลอนุญาตให้ถ่ายรูปได้

สำหรับลูก
1. ผ้าอ้อม
2. เสื้อผ้าลูกไซด์แรกเกิด
4. น้ำยาซักล้างต่างๆ
5. หมอนให้นม
6. ผ้าสำหรับห่อตัวลูกกลับบ้าน

ที่มา :http://www.momypedia.com  
       :นิตยสาร  ลูกรัก
รูปภาพ://www.anmum.com


ปลูกฝังลูกน้อยให้ิกินผัก




      เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนคงเคยประสบปัญหาลูกน้อยไม่ยอมกินผัก เจอผักทีไรเป็นต้องเขี่ยออก ดีไม่ดีไม่กินอาหารจานนั้นไปเลย

     แม้สารอาหาร เกลือแร่ และวิตามินบางชนิด จะสามารถหาทดแทนได้ในนมผง หรือหาได้จากอาหารเสริมสำหรับเด็ก แต่อย่างไรเสียการได้รับสารอาหารจากพืชผักโดยตรงก็ย่อมดีกว่า ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยให้ลูกน้อยไม่เลือกกินไปในตัวด้วย พอมาเจอปัญหาลูกน้อยไม่ยอมกินผักเช่นนี้ เลยทำเอาคุณพ่อคุณแม่กลุ้มอกกลุ้มใจไปตาม ๆ กัน

     แต่ตอนนี้มีข่าวดีสำหรับผู้ที่กำลังจะเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพราะคุณสามารถปลูกฝังนิสัยกินผักให้ลูกน้อยได้ ตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์ โดยแนวความคิดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลวิจัยเรื่อง การรับรู้รสชาติอาหารของทารกเมื่ออยู่ในครรภ์และหลังคลอด (Prenatal and Postnatal Taste in Infants) ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์ เมื่อปี 2543  โดยทีมนักวิจัย จากสถาบัน โมเนลล์ เคมิคัล เซ้นส์ เซ็นเตอร์ (Monell Chemical Senses Center in Philadelphia) นำทีมโดย ด็อกเตอร์ จูลี่ เมนเนลล่า นักชีววิทยาและนักพันธุศาสตร์

     โดยก่อนที่จะได้ข้อสรุปออกมาเป็นแนวคิดว่า รสชาติของพืชผักบางอย่าง เช่น วานิลลา แครอท กระเทียม ผักชี หรือ มินต์ ที่คุณแม่บริโภคเข้าไปนั้น สามารถสื่อถึงลูกน้อยได้ผ่านทางน้ำคร่ำหรือน้ำนมของคุณแม่ได้ ทีมนักวิจัยได้ทำการทดลอง โดยให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินกระเทียมในรูปของแคปซูล ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกินน้ำตาลแคปซูล และเจาะเอาตัวอย่างน้ำคร่ำไปให้กับอาสาสมัครกลุ่มหนึ่งได้ดม และให้เลือกตัวอย่างน้ำคร่ำที่คิดว่าเป็นของคุณแม่ที่บริโภคกระเทียม ปรากฏว่า เหล่าอาสาสมัครสามารถเลือกตัวอย่างน้ำคร่ำนั้นออกมาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าทารกในครรภ์เองก็สามารถรับรสชาติของพืชผักนั้น ๆ ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับที่เราเองรับกลิ่นจากอาหารนั้น ในตัวอย่างน้ำคร่ำของคุณแม่เช่นกัน

     นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังได้ทำการศึกษาต่อไปว่า ความคุ้นชินต่อรสชาติพืชผักเหล่านี้ จะติดตัวทารกจนกระทั่งคลอดออกมาได้หรือไม่ จึงได้แบ่งกลุ่มคุณแม่ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

• คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ให้ดื่มน้ำแครอทเป็นประจำทุกวัน
• คุณแม่ในช่วงให้นมบุตรที่ให้ดื่มน้ำแครอทเป็นประจำทุกวันเช่นกัน
• คุณแม่ที่ให้งดทานแครอทไม่ว่าจากอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น

     เมื่อเด็ก ๆ ของบรรดาคุณแม่เหล่านี้เริ่มเติบโตจนสามารถทานอาหารแข็งได้ นักวิจัยจึงทดสอบให้เด็ก ๆ เหล่านี้ทานซีเรียลกับน้ำและกับน้ำแครอท ผลปรากฎว่าเด็ก ๆ ที่คุณแม่ได้ดื่มน้ำแครอทเป็นประจำในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร สามารถกินซีเรียลในน้ำแครอทได้มากกว่า เด็กกลุ่มที่คุณแม่ไม่ได้ทานแครอทเลย จึงทำให้นักวิจัยสามารถสรุปได้ว่ารูปแบบการทานอาหารของมารดา สามารถส่งผลถึงลักษณะนิสัยการทานอาหารของลูกน้อยได้ด้วย โดยเฉพาะหากคุณแม่ต้องการให้ลูกน้อยเป็นเด็กทานง่ายและกินผัก ก็สามารถเริ่มปลูกฝังได้ตั้งแต่เจ้าหนูยังอยู่ในครรภ์ หรืออยู่ระหว่างวัยให้นมที่ฟันยังไม่ขึ้น และไม่สามารถเคี้ยวได้ด้วยซ้ำ

     รู้อย่างนี้แล้วใครที่กำลังจะเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ก็อย่าลืมปลูกฝังนิสัยทานผักให้กับลูกน้อยเสียแต่เนิ่น ๆ นะคะ ลูกน้อยจะได้โตมาเลี้ยงง่ายไม่เลือกกิน คุณพ่อคุณแม่โล่งใจได้เลยค่ะ
 




ข้อมูลจาก : kapook.com

เมนู ของคนท้อง



เรื่องกินนี่เรื่องใหญ่ มื้อหน้าจะกินอะไรเผื่อลูกดีน้า   กลัวลูกในท้องจะไม่แข็งแรง

เดือนที่ 1 แรกรู้ว่ามีหนู
        * งดคาเฟอีน แอลกอฮอล์ กับน้ำอัดลม
        * เลือกอาหารที่มีผักใบเขียว นม จะได้มีสารโฟเลตช่วยป้องกันสมองลูกจากความพิการ เช่น   
คะน้า  บร็อกโคลี ผักกวางตุ้ง และผักใบเขียวมีโฟเลตสูง
        * แป้ง ไขมัน โปรตีน ยังไม่จำเป็นมากนัก เดี๋ยวน้ำหนักจะเกินเปล่าๆ

เดือนที่ 2 เมื่ออาการแพ้ท้องมาเยือน

       * กินทีละน้อยแต่กินบ่อย เลือกอาหารย่อยง่าย รับอาการแพ้ท้อง

       * อาหารที่มีวิตามินบี 6 ช่วยบรรเทาอาการโอ้กอ้ากได้   เช่นเนื้อสัตว์ ข้าวซ้อมมือ กล้วย ธัญพืช มีวิตามินบี 6 สูง

เดือนที่ 3 ท้องขยายเพิ่มขึ้นทุกวัน

       * อย่างนี้ต้องเติมสารแอนติออกซิแดนซ์ให้ผิวยืดหยุ่น ไว้รับมือกับสรีระที่กำลังเปลี่ยน    ส้ม มะเขือเทศ แครอต ฟักทอง กล้วย มีสารแอนติออกซิแดนซ์สูง

      * เริ่มกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 ชนิด ได้วิตามินครบและท้องไม่ผูก


ไตรมาส 2..แม่ต้องกินเพื่อลูกในท้อง

          เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่คงคลายอาการแพ้ท้องและกินอาหารได้มากขึ้นกว่าเดิม ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องให้ความสำคัญกับเรื่องกินกันต่อนะคะ  เพราะเป็นช่วงที่เจ้าตัวน้อยในท้องสร้างอวัยวะสำคัญๆ ครบแล้ว และกำลังแบ่งเซลล์เพื่อให้อวัยวะต่างๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นค่ะ

แคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อย ซึ่งก็ควรจะได้วันละ 800-1,200 มิลลิกรัม เพราะหากได้รับไม่เพียงพอ ลูกก็จะดึงเอาจากร่างกายคุณแม่ที่สะสมไว้ จนอาจทำให้คุณแม่เป็นโรคกระดูกพรุนได้ในระยะยาว
อาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ไข่ ถั่วเหลือง บร็อคโคลี่ ปลาเล็กปลาน้อย ชีส

ธาตุเหล็ก เพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงไว้พาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย สำหรับทั้งคุณแม่และคุณลูกอีกเช่นกัน ควรจะกินวันละ 14.8-30 มิลลิกรัม แต่ถ้าคุณหมอเห็นว่าท่าทางคุณแม่จะได้รับธาตุเหล็กไม่พอแน่ ก็จะให้ธาตุเหล็กชนิดเม็ดเสริมค่ะ
อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักโขม ตับ ไข่แดง เนื้อแดง หอย ปลาทะเล ฟักทอง สาหร่ายทะเล งาดำ มะเขือพวง บวบเหลี่ยม

ผักและผลไม้ ที่ขาดหมวดนี้ไม่ได้ ก็เพราะคุณจำเป็นต้องได้รับวิตามินและเกลือแร่อื่นๆ ด้วยไงล่ะ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือการดูดซึมธาตุเหล็ก ที่ต้องอาศัยการทำงานของคู่ขาปาท่องโก๋อย่างวิตามินซีร่วมด้วย แคลเซียมต้องจับคู่ทำงานกับฟอสฟอรัส แถมกากใยอาหารยังช่วยเรื่องขับถ่ายของคุณได้ด้วยนะคะ

ผักและผลไม้ที่มีคุณค่าน่าจะลิ้มลอง เช่น แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย สับปะรด ถั่วงอก ถั่วลันเตา เห็ดสด แตงกวา


ที่มา   http://www.momypedia.com/  ,http://www.dumex.co.th/  



การรับวัคซีนของลูก

การฉีดวัคซีนในทารกแรกเกิดถึงเด็ก 16 ปี

      วัคซีน คือ การฉีดเชื้อโรคชนิดนั้นเข้าสู่ร่างกาย แต่เป็นเชื้อโรคที่ถูกฆ่าแล้วหรือเป็นเชื้อโรคที่ถูกทำให้สงบแล้ว ไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งเมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย มันจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเมื่อสร้างได้แล้วภูมิคุ้มกันนี้จะอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ทำให้มีภูมิต้านทานโรคนั้นๆ บางชนิดแอนติบอดี้ย์จะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต คือฉีดครั้งเดียวก็พอ บางชนิดจะอยู่นาน 10 ปี หรือ 20 ปี เมื่อครบช่วงเวลาก็ต้องฉีดวัคซีนเพิ่มอีก
มาตราฐานการฉีดวัคซีนในประเทศไทย
ทารกแรกเกิด - วัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรค

ทารกอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน- วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน, ฮิปวัคซีน

ทารกอายุ 9 เดือน - วัคซีนป้องกันโรคหัด

เด็กอายุ 15 เดือน - วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน

อายุ 18 เดือน - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน

อายุ 2 ปี - วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์

อายุ 3 ปี - วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ และให้ฉีดทุก 3 ปี

อายุ 4-6 ปี - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน

อายุ 14-16 ปี - วัคซีน ดี ที ชนิดผู้ใหญ่

นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ

ที่มา :http://www.babytrick.com/new-born-baby-tip/thai-vaccinate-time-schedule.html 

ดูรูปเด็กน่ารัก แล้วลูกในท้องจะน่ารัก




หญิงตั้งท้องให้มองรูปเด็กน่ารักเมื่อคลอดลูกออกมาจะน่ารักจริงหรือ 

              คนโบราณหลายๆ คนแนะนำว่า เวลาที่คุณแม่ตั้งท้อง ขอให้มองรูปภาพเด็กที่หน้าตาน่ารักๆ  มองทุกๆ วันแล้วลูกของเราจะเกิดมาน่ารัก คุณเคยได้ยินคำพูดหรือความเชื่อแบบนี้มาก่อนหรือเปล่าค่ะ แล้วความเชื่อนี้ได้ผลหรือมีผลจริงหรือเปล่า 

                ปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ได้ให้การยืนยันแล้วว่า อารมณ์ของแม่ขณะตั้งครรภ์มีผลกระทบอย่างมากต่อทารกในครรภ์ หากแม่มีอารมณ์ดี มีความรู้สึกดีที่กำลังตั้งครรภ์ ร่างกายจะหลั่งสารฮอร์โมนเอนโดรฟิน (Endophin) ซึ่งจะทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์รู้สึกสบาย มีความสุข อารมณ์สดชื่น และแน่นอนว่าสารนี้มีผลต่อเนื่องไปถึงทารกในครรภ์ด้วย ทำให้เมื่อแม่มีความสุข ทารกในครรภ์ก็พลอยมีความสุขไปด้วย การมองรูปเด็กที่มีใบหน้าน่ารักจะทำให้คุณแม่มีอารมณ์ที่อ่อนโยน เพราะคุณแม่ก็จะจินตนาการว่าลูกของตัวเองก็น่าจะน่ารักแบบนี้บ้าง ทำให้ความกังวลอื่นๆ ในแต่ละวันลดน้อยลง ยิ่งจ้องมองรูปเด็กน่ารักบ่อยๆ คุณแม่ก็จะลืมความเครียด ยิ่งมองยิ่งมีความสุข เมื่อยิ่งมีความสุขร่างกายก็ยิ่งหลั่งสารเอนโดรฟิน เด็กทารกจึงมีความสุขและอารมณ์ดีตามไปด้วย

ในทางกลับกัน หากคุณแม่เครียดมากหรือมีอารมณ์หงุดหงิดตลอด เด็กก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน ทำให้เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วร้องไห้เก่ง เลี้ยงยาก หรือแม้กระทั่งคลอดก่อนกำหนดเลยก็มี เนื่องจากความเครียดทำให้ระบบภายในร่างกายของแม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงนั้นเอง
มองรูปอื่น ได้หรือเปล่า

การมองภาพวิว ภาพดารา ภาพสัตว์ต่างๆ ก็ถือว่าเป็นการผ่อนคลายเหมือนกัน ช่วยลดความเครียดของแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่การมองรูปเด็กที่น่ารักจะส่งผลโดยตรงมากกว่า เนื่องจากคุณแม่จะสามารถจินตนาการระหว่างตนกับลูกได้ง่ายกว่าการมองรูปวิว หรือรูปภาพดารา ดังนั้นหากต้องการให้ได้ผลดีก็ควรจะเป็นรูปเด็กน่ารักจะดีกว่าค่ะ



ที่มา:www.babytrick.com/before-pregnancy/new-mother-should-watch-cute-baby-picture.html 

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

ดนตรีสำหรับเด็ก

 

         
             การรับรู้ของเด็กไม่ได้เริ่มต้นในวันแรกที่ออกจากท้องแม่ แต่เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่เขาก่อตัวขึ้นในท้อง พร้อมกับพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวันตามไลฟ์สไตล์และชีวิตของคุณแม่ ดังนั้นเคล็ดลับหนึ่งที่สำคัญในการสื่อสารกับลูกเพื่อให้เขาไม่รู้สึกเดียวดายก็คือการใช้ดนตรีเป็นสื่อกลาง 



ข้อดีของการใช้เสียงดนตรี

         เพื่อสื่อสารและกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้  ถูกพิสูจน์แล้วว่าดีเยี่ยมโดย Dr.Leon Thurmanนัก วิจัยชาวอเมริกันซึ่งได้ทดลองเปิดเสียงดนตรีให้คุณแม่ตั้งครรภ์ฟังเป็นประจำ ทุกวันพบว่าเด็กที่คลอดออกมาจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและ I.Q. สูงกว่าเด็กทั่วไป แถมยังเลี้ยงง่ายและมีความผูกพันกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น    เพื่อเตรียมพื้นฐานให้ลูกพร้อมที่สุดในวันแรกที่ได้ลืมตามาพบกับคุณพ่อ และคุณแม่ การเปิดเพลงเพราะๆขับกล่อมให้คุณแม่ฟังทุกวันจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง แต่เวลาเหมาะที่สุดสำหรับการเริ่มต้นคือช่วงระยะครรภ์ 5เดือน เพราะในช่วงนี้ลูกจะเริ่มมีพัฒนาการด้านการได้ยิน ระบบความจำ การหายใจและการเคลื่อนไหวมากขึ้น

เพลงของลูกควรเป็นเพลงประเภทไหน

           เพลงช้าๆ เบาๆ อย่างดนตรีคลาสสิคคือเพลงที่คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดให้ลูกที่อยู่ในท้องฟังมาก ที่สุด จะช่วยขับกล่อมให้ลูกอารมณ์เย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส และไม่โมโหง่าย โดยจะเป็นเพลงไทยหรือเพลงสากลก็ได้ ขอเพียงทุกครั้งที่เปิดให้คุณแม่ใช้มือลูบเบาๆที่ท้องไปด้วย และจะให้ดีควรร้องคลอตามเบาๆ เพื่อให้เขาชินกับสัมผัส รวมถึงเสียงของคุณแม่ ซึ่งจะส่งผลให้เมื่อเขาเกิดจะกลายเป็นเด็กเลี้ยงง่ายเมื่ออยู่ในอ้อมกอดของ คุณแม่


วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลูกตัวเหลืองคุณแม่ช่วยได้


            ทำไมทารกแรกเกิดถึงตัวเหลือง
               
                       เกิดจากเม็ดเลืิอดแดงที่มีอยู่จำนวนมากและอายุสั้นเกิดการแตกตัว  โดยมีตับทำ                     หน้าที่ในการเปลี่ยนส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงที่แตกเป็นน้ำดี  ซึ่งถ้ามีมากไปก็จะแสดงอาการตัวเหลือง   นอกจากนี้ยังมาสาเหตุมาจากการเข้ากันไม่ได้ของเลือดแม่และลูก  โรค G6PD โรคติดเชื้อในกระแสเลือด  

         ทารกตัวเหลืองมากเป็นอันตรายอย่างไร
               
                  ทารกที่ตัวเหลืองมากจะมีสารบิลิรูบิน  ซึ่งเป็นสารสีเหลือง สารนี้สามารถผ่านเข้าไปติดในสมองเด็กผิดปกติ  เช่น ชัก  พิการ  ปัญญาอ่อน

          ดูแลอย่างไรถ้าลูกตัวเหลือง

                   ดื่มนมให้บ่อยขึ้น  เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ในการขับถ่ายสารบิลิรูบินทางอุจจาระและปัสสาวะ  ถ้ามีตัวเหลืองมากแพทย์อาจมีการรักษาให้ได้ัรับการส่องไฟ  หรือ การถ่ายเลือดให้แก่ทารก   

          นำทารกไปตากแดดตอนเช้า  ช่วยลดอาการตัวเหลือได้หรือไม่

                   ไม่ช่วยลดตัวเหลือง  และไม่ควรทำ  เพราะแสงที่ให้รักษาตัวเหลืองในเด็กต้องมีความเข้มของแสงเพียงพอ  ใช้เวลานาน นอกจากไม่ช่วยแล้วอาจทำให้ทารกสูญเสียอุณหภูมิในร่างกายจนป่วยได้