วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

การแต่งกายสำหรับคนท้อง


         มีเรื่องมามายหลายสิ่งที่คุณแม่ต้องกังวลใจ เรื่องชุดคลุมท้องเองก็มีความสำคัญไม่น้อยนัก เพื่อให้ยังคงบุคลิกภาพที่ดีอยู่ได้ ต้องติดตามบทความนี้

ไตรมาสที่ 1 คุณแม่ท้องอ่อน
     แม้ว่าจะไม่มีใครสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางสรีระของคุณแม่เพราะ ช่วงนี้ท้องจะยังเล็กจนแทบจะไม่รู้ึกเหมือนคนตั้งครรภ์ ยิ่งทำให้คุณแม่คิดเอาเองว่าจะใส่ชุดอะไรก็ได้ แต่ความจริงแล้วช่วงท้องอ่อนนี่แหล่ะที่มีความสำคัญ และระมัดระวังให้มาก คุณหมอจึงมักแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ เช่นเดียวับการเลือกชุดคลุมท้อง แม้ว่าจะเลือกชุดคลุมท้องตัวเก่งไม่ได้ แต่คุณแม่ไม่ควรเลือกใส่ชุดที่รัดหน้าท้องจนเกินไป เพื่อให้ยังคงความสวยและไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

ไตรมาสที่ 2 ท้องกลาง 
      พอเข้าไตรมาสที่ 2 สะโพก ก้น ท้อง เริ่มขยาย ส่วนไหล่ แขน ยังไม่ค่อยขยายออกมากนัก ฉะนั้นการเลือกเสื้อผ้าในช่วงนี้คุณแม่ต้องคำนึงถึงร่างกายส่วนล่างที่ขยายมากขึ้นกว่าเดิม เช่น การเลือกกางเกงสำหรับคนท้อง โดยเฉพาะที่มีขอบขยายด้วยยางยืด เพื่อเน้นการรองรับขนาดท้อง และพยุงเข้ารูปกับสัดส่วนของท้องที่เริ่มขยาย ส่วนกางเกงยีนส์หรือกางเกงตัวเก่งที่ยังคงพอจะใส่ได้อยู่ก็ควรจะเก็บเข้าตู้เสีย ทางที่ดีควรเลือกชุดกระโปรงที่ไม่ลัดหน้าท้อง 

ไตรมาสที่ 3 ท้องเป่ง ใกล้คลอด 
      ช่วงนี้คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกอึดอัดบ้างแล้ว เพราะอะไรๆ ก็ดูใหญ่ไปหมด ทั้งท้อง สะโพก แขน ขา การเลือกหาชุดคลุมท้องช่วงนี้ควรเลือกชุดคลุมสไตล์บอลลูน (คือกระโปรงที่มีการจับชายด้านล่าง) รวมถึงการเลือกเสื้อที่มีการจับจีบใต้อก จะช่วยอำพรางรูปร่างและไม่อึดอัดมาก



ที่มา :  http://readybabyguide.blogspot.com

วิธีป้องกันหน้าท้องลาย



        ความสวยความงามกับผู้หญิงนั้นเป็นเรื่องที่แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ กระทั่งในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่หลายๆ ท่านก็คงอดกังวลไม่ได้ว่า ผิวสวยๆ จะกลับมาเนียนใสได้ดังเดิมหรือเปล่า โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณหน้าท้องที่มีการขยายตัวออกมาก ดังนั้นนอกจากว่าที่คุณแม่จะการบำรุงสุขภาพเพื่อลูกน้อยในครรภ์แล้ว คุณแม่ส่วนใหญ่ก็ยังหาสารพัดวิธีป้องกันอาการท้องลายอีกด้วย  3 เคล็ดลับง่ายๆ ที่คุณทำได้เอง เพื่อป้องกันผิวสวยๆ ให้หมดห่วงจากอาการท้องลายค่ะ
1. ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ 

     ช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ผิวหนังบริเวณท้องของคุณแม่จะมีการขยายตัวมากและเริ่มตึง เริ่มจากท้องน้อย ไปถึงบริเวณสะโพกหรือต้นขาจนทำให้เกิดอาการผิวหนังแตก กระทั่งหลังคลอดบุตร อาการตึงของผิวหนังจะลดลง จนเกิดเป็นรอยสีจาง ที่เราเรียกกันว่าอาการผิวแตกลายนั่นเอง ซึ่งหากเป็นขึ้นมาแล้ว ก็ยากที่จะทำการรักษาให้หายได้ วิธีการที่ดีที่สุด จึงเป็นการป้องกัน ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ โดยการทาครีมบำรุง น้ำมันมะกอก หรือเบบี้โลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวหนัง และลดอาการคันจากการที่ผิวหนังแห้งตึงได้
2. บำรุงผิวถูกวิธี มีชัยไปกว่าครึ่ง 

     เริ่มจากการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ควรเป็นชนิดที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะกอก หรือโลชั่นสำหรับเด็กที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ หลังอาบน้ำและเช็ดตัวให้หมาดๆ แล้ว ควรทาครีมบำรุงหรือน้ำมันมะกอกบริเวณท้อง สะโพก ต้นขา ทุกครั้งทันทีเพราะผิวช่วงนี้จะเก็บความชุ่มชื้นได้ดีที่สุด นอกจากนี้คุณแม่ยังจะต้องทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างต่อเนื่องไปจนถึงช่วงใกล้คลอด โดยอาจจะทาวันละหลายๆ ครั้ง หรือเมื่อใดก็ตามที่รู้สึกคันบริเวณผิวที่ขยายตัว โดยเพิ่มปริมาณเนื้อครีมให้มากขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย ก็จะช่วยลดปัญหาหน้าท้องแตกลายหลังคลอดได้
3. เคล็ดลับง่ายๆ ด้วยการอาบน้ำ 

     คุณแม่หลายท่านคงนึกไม่ถึงว่าการอาบน้ำก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการผิวแตกลายได้ โดยการเลือกอาบน้ำที่อุณหภูมิห้อง แทนการอาบน้ำอุ่นจัดๆ เพราะจะยิ่งทำให้ผิวแห้งเป็นขุย ซึ่งจะส่งผลทำให้หน้าท้องแตกลายมากยิ่งขึ้น

ที่มา : http://women.kapook.com

อาการแพ้ท้อง




อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร

        เชื่อกันว่าอาการแพ้ท้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "HCG" (Human Chorionic Gonadotropin) ที่เพิ่มสูงขึ้น และประสาทรับกลิ่นมีความไวมากขึ้น แม้แต่สภาพอารมณ์หรือระดับความเครียดก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ท้องได้เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จึงควรหาเวลาผ่อนคลายความเครียดให้มากๆ  ถึงแม้ว่าอาการแพ้ท้องอาจทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวล แต่หากคุณสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ อาการแพ้ท้องก็จะไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อยของคุณอย่างแน่นอน แต่หากคุณไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้เลยหรือรู้สึกเบื่ออาหารทุกชนิด ควรปรึกษาสูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณพวกเขาสามารถช่วยคุณได้แน่นอน


อาการแพ้ท้องจะคงอยู่เป็นระยะเวลานานเท่าใด

        โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการแพ้ท้อง จะหมดไปในช่วงเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการคลื่นไส้อาเจียนอาจเกิดขึ้นได้อีกตลอดช่วงตั้งครรภ์ เพียงแค่ได้กลิ่นบางอย่างที่ชวนให้คลื่นเหียนอาเจียน และแน่นอนว่ากลิ่นที่ชวนให้รู้สึกคลื่นเหียนอาเจียนก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน


มีวิธีการรักษาอาการแพ้ท้อง
  
  • รับประทานของขบเคี้ยวง่ายๆ และไม่หวานมากทันทีที่คุณตื่นนอน เช่น บิสกิตหรือขนมปังกรอบจะช่วยได้อย่างมาก จากนั้น ให้นอนพักอีก 20-30 นาที ก่อนลุกออกจากเตียง
  • ในช่วงที่เหลือระหว่างวัน พยายามรับประทานครั้งละน้อยๆ แต่รับประทานบ่อยๆ ทานอะไรสักหน่อย ดีกว่าไม่ได้ทานอะไรเลยหรือซื้อของขบเคี้ยวมาเก็บไว้ เช่น ขนมปังกรอบหรือโยเกิร์ตไว้รับประทานเวลาหิว
  • อาหารที่มีโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตสูงสามารถช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะฉะนั้น พยายามรับประทานอาหารทั้งสองชนิดนี้ร่วมกัน เช่น รับประทานไข่สุกกับขนมปังปิ้ง
  • ดื่มน้ำมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเปล่า น้ำผลไม้ นม ชาผลไม้ น้ำอะไรก็ตามที่คุณสามารถดื่มได้ น้ำขิงหรือชาขิงจะช่วยให้อาการคลื่นไส้อาเจียนลดลงและทำให้หายจากอาการแพ้ท้องได้ ที่สำคัญ อย่าลืมหาเวลาผ่อนคลายเพื่อกำจัดความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การพูดคุยกับว่าที่คุณแม่คนอื่นๆ ที่มีอาการแพ้ท้องเช่นเดียวกันก็สามารถช่วยผ่อนคลายได้


ที่มา :  http://www.dumex.co.th


วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

การเจาะน้ำคร่ำ





น้ำคร่ำ  
       คือ  น้ำที่่อยู่ในถุง  ซึ่งล้อมรอบทารกในครรภ์อีกทีหนึ่ง  น้ำคร่ำมีองค์ประกอบเป็นน้ำ  98 %  ส่วนที่เป็นของแข็งประกอบด้วยส่วน ต่าง ๆ  2 % ในน้ำคร่ำจะมีเซลล์จากตัวทารกที่หลุดออกล่องลอยอยู่  ทำให้เราสามารถนำมาปั่นหาเซลล์ของทารก  เพื่อการศึกษาและวินิจฉัยโรคได้




ทำไมจึงต้องเจาะน้ำคร่ำ
     เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซม  เช่น มีจำนวนมากกว่าปกติ  หรือน้อยกว่าปกติ  หรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ  ทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้จะทำให้ทารกมีโอกาสที่จะมีความผิดปกติ




สตรีที่ควรได้รับการเจาะน้ำคร่ำเพื่อหาความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก  ได้แก่

  • มีอายุตั้งแต่  35 ปี เป็นต้นไป
  • มีประวัติเคยคลอดบุตรที่ปัญญาอ่อนจากโครโมโซมผิดปกติ
  • มีประวัติเคยคลอดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • มีประวัติเคยคลอดบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิด

จะเจาะน้ำคร่ำเมื่อไร
      อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการเจาะน้ำคร่ำอยู่ในช่วง  16 - 18  สัปดาห์  (ประมาณ 4 เดือน กว่า)   เพราะในช่วงนี้  ทารกจะหนักประมาณ 100 กรัม  และยาวประมาณ 16 เซนติเมตร  และมีน้ำคร่ำประมาณ  150 - 200  ซีซี  ทำให้สามารถทำได้ค่อนข้างง่าย  และช่วงอายุครรภ์นี้เป็นช่วงที่เซลล์ในน้ำคร่ำมีปริมาณมากพอที่จะเพาะเลี้ยงเพื่อการตรวจ  


วิธีการเจาะน้ำคร่ำ ทำอย่างไร
      แพทย์จะตรวจครรภ์ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์  เพื่อตรวจดูท่าของทารก  อายุครรภ์ที่แน่นอน  ตำแหน่งที่รกเกาะ  และเลือกหาตำแหน่งที่จะเจาะน้ำคร่ำ  วิธีการเจาะให้เทคนิคปราศจากเชื้อ  และฉีดยาชาเฉพาะที่ตำแหน่งที่จะใช้เข็มเจาะ  เจาะผ่านโพรงมดลูกเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ  ขณะที่เจาะ  แพทย์จะใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ดูตำแหน่งเข็มตลอดเวลา  เพื่อไม่ให้โดนตัวของทารกและรก  ดังนั้นโอกาสที่จะได้รับอันตรายจึงมีน้อยมาก 

อันตรายจากการเจาะน่ำคร่ำ
     ปัจจุบันแพทย์ที่ทำการเจาะน้ำคร่ำมีประสบการณ์และความชำนาญมาก   ฉะนั้นภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายที่จะเกิดจากการเจาะน้ำคร่ำนั้นมีน้อยมากๆ  ที่พบได้แก่  การติดเชื้อ  น้ำคร่ำรั่วซึม  ตลอดจนการแท้งบุตร

การเตรียมตัวก่อนการเจาะน้ำคร่ำ
     แพทย์จะให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับการเจาะน้ำคร่ำให้คู่สามีและภรรยาทราบก่อน  จากนั้นจึงเป็นการตัดสินใจว่าจะรับการตรวจหรือไม่
      ถ้าตัดสินใจว่าจะรับการตรวจน้ำคร่ำ  ท่านไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ แต่ประการใดสามารถตรวจได้ทันที


การปฏิบัติตัวหลังการเจาะน้ำคร่ำ
     หลังการเจาะน้ำคร่ำแพทย์จะให้นอนพักประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง  ท่านจะได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์ซ้ำว่าทารกยังอยู่ในสภาพปกติ  เพื่อให้ความมั่นใจและลดความวิตกกังวลของมารดา  หลังจากนั้นจึงอนุญาตให้กลับบ้านได้


การปฏิบัติตัวที่บ้าน 
  1. ถ้าปวดแผลบริเวรที่เจาะสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
  2. ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณที่เจาะแต่อย่างใด  อาบน้ำได้ตามปกติ
  3. หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหน้าท้อง  เช่น ยกของหนัก  หรือการขึ้นลงบันได
  4. ถ้ามีอาการผิดปกติ  เช่น  มีเลือดออกทางช่องคลอด  น้ำเดิน  มีไข้  ปวดท้องมากให้รีบมาพบแพทย์ทันที

ที่มา :  การเจาะน้ำคร่ำในสตรีตั้งครรภ์  , รศ.นพ.วิทยา  ถิฐาพันธุ

รกเกาะต่ำ (placenta previa)



รก 
      คืออวัยวะพิเศษ ที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย โดยด้านหนึ่งของรก ต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของเด็ก อีกด้านของรก จะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่จะมีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างกัน
ในภาวะปกติ รกจะเกาะสูงขึ้นไปในมดลูก (ในระยะแรก ๆ จะเกาะต่ำ ๆ ได้ถึง20% แต่เมื่อการตั้งครรภ์พัฒนาไป จะเลื่อนขึ้นด้านบนไปเรื่อย ๆ)



ภาวะรกเกาะต่ำ 

         หมายถึง  ภาวะที่รกเกาะต่ำลงจากปกติที่อยู่สูงขึ้นไปในมดลูก บางครั้ง เกาะต่ำลงมาถึงปากช่องคลอด และทำให้เกิดปัญหา คือ เลือดออกในช่วงที่ปากช่องคลอดขยายตัว คือช่วงครึ่งหลัง (3-8 เดือน)ของการตั้งครรภ์ และถ้าเป็นมาก อาจทำให้ตกเลือด เด็กไม่สามารถคลอดตามปกติ ต้องผ่าตัดคลอดเนื่องจากมีรกขวางอยู่

ชนิดของรกเกาะต่ำ แบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ ตามความรุนแรงคือ
  1. รกเกาะคลุมปากมดลูกทั้งหมด ซึ่งจัดว่ารุนแรงที่สุด เพราะรกจะปิดปากมดลูกทั้งหมด
  2. รกเกาะคลุมปากมดลูกเป็นบางส่วน 
  3. รกเกาะบริเวณด้านล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมปากมดลูก กรณีนี้สามารถปล่อยให้ลูกคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ต้องระวังว่ามีโอกาสที่เลือดจะออกมากได้เช่นกัน แม้ว่าจะน้อยกว่า 2 กรณีแรกก็ตา

อาการ

         เลือดออกทางช่องคลอด ในอายุครรภ์มากกว่า 6 เดือน มักไม่ปวดท้อง และเป็นเลือดสดๆ ส่วนใหญ่เลือดที่ออกครั้งแรก จะออกไม่มากและสามารถหยุดได้เองถ้าไม่ได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น การตรวจภายในหรือการมีเพศสัมพันธ์ และเลือดออกครั้งต่อๆ ไปปริมาณและความรุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ สาเหตุุุุุุุุุของการมีเลือดออกเชื่อว่า เกิดจากการลอกตัวของรกเนื่องจากมีการยืดตัวของผนังมดลูกส่วนล่าง หรือมีการบางตัวและขยายของปากมดลูก และการอักเสบของรก อาจมีการหดรัดตัวของมดลูกได้ สิ่งสำคัญของแพทย์เมื่อสงสัยคือ ทำอัลตราซาวด์และตรวจหัวใจเด็ก แพทย์ต้องระมัดระวังอย่างมากในการตรวจภายใน เพราะจะกระตุ้นการลอกของรกให้ตกเลือดรุนแรงได้

สาเหตุ

          เกิดได้ประมาณ 2-5 รายต่อการตั้งครรภ์1000 ราย สาเหตุ ยังไม่มีใครทราบ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องคือ การที่มารดาอายุมาก เช่นพบว่า มารดาอายุ30ปี โอกาสเกิดรกเกาะต่ำมากเป็น 3 เท่าของมารดาอายุ 20 ปี นอกจากนี้การมีรกเกาะต่ำในการตั้งครรภ์ก่อน การเคยผ่าตัดคลอดบุตรมาก่อน เคยทำแท้ง หรือการสูบบุหรี่ก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน

การวินิจฉัย

         จากอาการและการตรวจอัลตร้าซาวด์ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่แม่นยำและไม่มีอันตราย การวินิจฉัยด้วยการตรวจภายในสามารถทำได้แต่ไม่นิยมเนื่องจากทำให้มีอันตรายจากการมีเลือดออก หากจำเป็นต้องวินิจฉัยด้วยการตรวจภายใน (ในกรณีที่ไม่มีเครื่องอัลตร้าซาวด์) จะต้องทำการตรวจในห้องผ่าตัด เนื่องจากต้องเตรียมผู้ป่วยให้สามารถผ่าตัดได้ทันทีในกรณีที่มีเลือดออกมาก

ภาวะแทรกซ้อน

  • เลือดออก : ปัญหาที่ใหญ่สุดเกี่ยวกับรกเกาะต่ำคือ  ถ้าเลือดออกมากอาจทำให้แม่ช็อคและตายได้
  • คลอดก่อนกำหนด : เลือดออกมากอาจต้องทำการผ่าตัดก่อนเด็กครบกำหนดคลอด
  • รกเกาะแน่น(Placenta accreta) : ถ้ารกเกาะลึกและแน่นเกินจะไม่ยอมหลุดจากผนังมดลูกหลังคลอด ซึ่งจะทำให้เลือดออกมาก และอาจจะต้องผ่าตัดเอารกออก


การรักษาและยา

 คุณแม่ตั้งท้องครบกำหนดแล้วหรือไม่ ถ้าครบกำหนดแล้วควรพิจารณาผ่าตัดคลอดเลยโดยไม่ต้องรอให้เจ็บท้อง
ตั้งท้องยังไม่ครบกำหนด พิจารณาดูว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดมากน้อยเพียงใด คุณแม่บางรายคุณหมออาจตรวจพบรกเกาะต่ำโดยบังเอิญขณะตรวจด้วยอัลตราซาวนด์เพื่อดูลูกในท้องด้วยเหตุผลอื่นและรกที่เกาะต่ำนั้นก็ไม่ทำให้เลือดออกแต่ประการใด กรณีเช่นนี้สามารถรอได้จนกว่าจะตั้งท้องครบกำหนด
รายที่ตั้งท้องยังไม่ครบกำหนดร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอดไม่มากนักก็สามารถรอได้เช่นกัน เหตุผลสำคัญในการรอก็คือ เพื่อให้ลูกในท้องมีการเจริญเติบโตต่อไปจนครบกำหนดจะได้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะระบบการหายใจ ซึ่งพบว่าถ้าให้คลอดก่อนกำหนดลูกในท้องอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากปอดยังทำงานไม่ดีพอ ในระหว่างรอนี้คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่นอนพักมากๆ งดเว้นการทำงานหนักและการมีเพศสัมพันธ์ โดยหวังว่าจะทำให้รกได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด เลือดจะได้หยุดและไม่ไหลออกต่อ
ถ้าภายหลังการพักผ่อนแล้วพบว่าเลือดหยุดไหล คุณหมอจะให้ฝากท้องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตั้งท้องครบกำหนดแต่ต้องนัดมาดูบ่อยๆ ในคุณแม่บางรายที่คุณหมอไม่แน่ใจว่าถ้าให้กลับบ้านแล้วจะพักผ่อนได้พอเพียง คุณหมอก็อาจให้นอนในโรงพยาบาลตั้งแต่วินิจฉัยได้ว่าเป็นรกเกาะต่ำ และรอจนตั้งท้องครบกำหนดแล้วรีบนำไปผ่าตัดคลอดก่อนที่จะเจ็บท้องคลอด เพราะถ้ารอให้เจ็บท้องเลือดจะออกมากจนเป็นอันตรายได้
คุณแม่บางรายที่ตั้งท้องยังไม่ครบกำหนด แต่เผอิญมีเลือดออกมากและไม่มีทีท่าว่าจะหยุด หรือเลือดเคยหยุดไปแล้วกลับไหลออกมาใหม่ก็จะต้องผ่าตัดคลอดโดยเร็ว แม้ว่าลูกจะยังโตไม่มากพอก็ตาม เพราะถ้าปล่อยท้องไว้อาจเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่เองคืออาจจะเสียเลือดมากจนช็อกได้และในที่สุดลูกในครรภ์ก็จะเสียชีวิตตามมา

ที่มา :

  1.  http://www.mayoclinic.com/health/placenta-previa/DS00588
  2. สุขภาพไทย : ข้อเท็จจริงการแพทย์ รกเกาะต่ำ และตกเลือด ภาวะฉุกเฉินในสตรีมีครรภ์ [online]. , Available from; URL: http://www.thaihealth.net/h/article573.html
  3. http://healthy.in.th/disease/placenta%20previa/

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

ลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิด



95% ของทารกแรกเกิด จะถ่ายขี้เทาภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และ 98% ใน 48 ชั่วโมง แต่ถ้าลูกน้อยของคุณไม่ถ่ายภายใน 24-48 ชั่วโมงแล้ว ก็ขอให้นึกถึง "ภาวะลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิด" ซึ่งถือเป็นภาวะร้ายแรงที่ทำให้เด็กเสียชีวิตได้เลยค่ะ

สาเหตุ

ลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิดนั้น มักเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีการตีบตัน หรืออาจจะเป็นจากตำแหน่งของระบบทางเดินอาหารวางตัวผิดที่ ทำให้เกิดการบิดและพันกันของลำไส้เล็ก ทำให้ไม่สามารถนำอุจจาระเคลื่อนลงสู่รูก้น แต่ไม่มีสาเหตุทางพันธุกรรมหรือการติดเชื้อใดๆ

อาการ

เนื่องจากโรคนี้มักมีอาการตั้งแต่แรกเกิด คุณแม่มือใหม่ยิ่งต้องอาศัยการสังเกตให้ดี ถ้าลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ค่ะ

1. ลูกอาเจียนพุ่งเกือบทุกครั้งที่กินนม บางครั้งอาจมีอาเจียนเป็นน้ำดีปนร่วมด้วย ซึ่งขึ้นกับตำแหน่งของ การอุดตัน คือ

       เกิดการอุดตันที่ลำไส้เล็ก มักมีอาการปวดบิดเกร็งเป็นพัก ๆ บริเวณรอบ ๆ สะดือและอาเจียนพุ่งรุนแรงติด ๆ กัน มักมีเศษอาหารหรือน้ำดีออกมา

       เกิดการอุดตันที่ลำไส้ใหญ่ มักไม่มีอาการอาเจียนหรือไม่มีเพียงเล็กน้อย ไม่ผายลม มีอาการท้องอืด ซึ่งอาจไม่ชัดเจนในระยะแรก แต่ต่อมาจะค่อย ๆ มีมากขึ้น นอกจากนี้ไม่ว่าการอุดตันจะเกิดตรงตำแหน่งใด ๆ ถ้าการอุดตันเป็นไปอย่างสมบูรณ์ มักจะมีอาการท้องผูกร่วมด้วยเสมอ
 
2. ไม่ถ่ายขี้เทาหรือมีความผิดปกติในการถ่ายขี้เทา ไม่ว่าจะเป็นถ่ายขี้เทาช้ากว่าปกติหรือปริมาณน้อยและสีซีดกว่าปกติ
 
3. ไม่ค่อยถ่ายหรือผายลม เหมือนเด็กปกติ ท้องอืด ซึ่งอาการมักเกิดขึ้นให้เห็นผิดสังเกตประมาณ 2-3 วัน 
 
4. เลี้ยงไม่โต น้ำหนักตัวขึ้นไม่ดีหรือลดลง
 
อาการข้างต้นนี้ถ้าเป็นอยู่หลายวัน เด็กมักมีภาวะขาดน้ำ และอาจมีภาวะช็อก (เหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันตก ปัสสาวะออกน้อย) บางครั้งอาจมองเห็นการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่หน้าท้อง และอาจคลำได้ก้อนที่บริเวณส่วนที่ปลายของกระเพาะอาหาร ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา เด็กจะมีภาวะขาดน้ำ ซึมชัก และเสียชีวิตได้
 
การรักษา

หากสงสัยให้รีบนำลูกน้อยส่งโรงพยาบาลด่วน ต้องเอกซเรย์ และทำการผ่าตัดด่วน การรักษา โดยมากมักต้องทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ศัลยกรรมเด็กและกุมารแพทย์ร่วมกัน
 

ที่มา  :  www.kapook.com